รู้จักกับ Kafka distribution system สำหรับ Realtime กัน
/ 9 min read
สามารถดู video ของหัวข้อนี้ก่อนได้ ดู video
Kafka คืออะไร ?
Kafka คือตัวกระจาย Event distribution platform ที่ช่วยกระจาย data ที่ stream แบบ realtime ได้
เทคโนโลยีนี้เกิดจากทีมของ LinkedIn จากปัญหาเรื่องของการพยายามทำ “Realtime data processing” ในทีมของ LinkedIn ที่สามารถกระจายการทำงาน, ใช้งานได้กับทุกระบบ และรวดเร็ว (สามารถ scale ได้) = ก็เลยเกิดเป็นตัว Kafka นี้ขึ้นมา
เพื่อแก้ปัญหาจากภาพนี้ ที่ Frontend แต่ละตัวต้องยิง Service กระจายตัวออกไป (Point to Point data)
เป็นภาพแบบนี้แทน (Data pipeline)
Ref: https://datascience.cafe/cafe/2016/02/17/kafka-data-integration/
โจทย์ของ Kafka คือเป็นตัวที่คอยเชื่อมเป็นตัวกลางระหว่าง Producer (ผู้ผลิต) และ Consumer (ผู้บริโภค) โดยองค์ประกอบหลักคือ
- Producer จะเป็นคนคอยส่งข้อมูล (Message) เข้า Message Queue เข้าไป
- Consumer หยิบแต่ละข้อมูล (Message) ที่ได้รับจาก Message Queue ไปจัดการงานต่อ
- โดย Broker คือ Kafka server (ใน Kafka Cluster) เปรียบได้กับ node (หรือเครื่อง server เครื่องหนึ่ง) ที่มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูล (จาก Producer) และส่งข้อมูล (ไปให้ Consumer) ตามที่ Request ออกไป (ซึ่ง Broker ก็จะผูกกับ Partition ที่เก็บข้อมูลไว้)
- และมี Zookeeper ที่เป็นผู้จัดการ Broker คอยดูว่ามี Broker มีตัวไหนตายไหม จัดการกับ Kafka Cluster (เหล่า Broker นี้) ให้สามารถดำเนินการต่อได้ ก็จะดูแลเรื่องของการเลือก Leader, replica ของ Partition
Ref: https://www.techterrotor.com/2022/04/kafka-message-queue.html
โดยองค์ประกอบการจัดการข้อมูลคือ
- Topic ที่ใช้สำหรับแบ่งประเภทของข้อความที่จะส่งออกจากกันได้ (เหมือนเราสร้าง chat กลุ่ม) โดย
- Producer สามารถส่งข้อความเฉพาะกลุ่มได้
- Consumer สามารถรับข้อความเฉพาะกลุ่มที่ตัวเองกำลังดูอยู่ได้ (โดยหยิบตาม topic ที่สนใจ)
- Partition คือการแบ่งส่วนการเก็บ Queue ออกจากกัน โดยแต่ละ topic นั้นมันจะกระจายไปตามแต่ละ partition ซึ่งอนุญาตให้ทำ hotizontal scale ที่สามารถแบ่ง topic เป็นเก็บและแชร์ได้
- Offset = position ที่เก็บข้อมูลตำแหน่งปัจจุบันของแต่ละ Partition เพื่อให้รู้ว่าตำแหน่งปัจจุบันของข้อมูล Queue อยู่ที่ใด
Ref: https://docs.datastax.com/en/kafka/doc/kafka/kafkaHowMessages.html
ไอเดียหลักของ Kafka คือ
- ข้อมูลทั้งหมดจะส่งผ่าน Producer มา
- หลังจากนั้น Broker ก็จะจัดการจัดเก็บข้อมูลเข้า Partition ไป โดย Broker จะสร้าง key กำหนดปลายทาง Partition ที่ต้องไป (ถ้าไม่มีการระบุ Key เราจะเรียก concept ว่า Round robin เหมือนตามหา Partition ที่มีปริมาณไม่มาก เพื่อให้ balance ของทุก partition เท่ากันแล้วก็ใส่เข้าไป)
- ฝั่ง Consumer จะสร้างตัวเองมาเป็น Consumer Group (กลุ่มของ Consumer) แล้วจะทำการ subscribe topic กับ ทุก Partition เอาไว้ แล้วเมื่อมีข้อมูลเข้ามา Consumer ก็จะได้รับข้อมูลออกไป
- Consumer 1 ตัว สามารถ subscribe หลาย Partition ได้ แต่ถ้าใน Consumer Group มีหลาย Consumer = สามารถช่วยกัน subscribe Partition ได้ (เหมือนภาพนี้ ที่ Consumer 1 ตัว subscribe Partiion 2 อัน, อีกตัว subscribe อันเดียว)
- แปลว่าใน 1 Consumer Group = ไม่ควรมี Consumer เกิน Partition (เพราะมีเกิน Consumer ก็จะไม่ action อะไรอยู่ดี)
มุมมองของการใช้งาน
- Kafka จะไม่เหมือน Message queue ทั่วไปอย่างหนึ่งคือ มันทำการ scale ตาม Producer - Consumer ได้ = มันสามารถกระจายการทำงานเท่าไหร่ก็ได้ และไม่ได้ “ทำงานต่อเนื่องกัน ”
- ไม่ได้โดย design มาให้ทำงานตามลำดับนะ (มันคือ Concept ของ Partition)
เพราะฉะนั้น การพิจารณาใน Kafka นั้นให้คำนึงว่า use case ที่ใช้ควรจะต้อง “independent กัน” เช่น
สมมุติเรามี Service Frontend ที่ต้องส่งข้อมูลเพื่อไปทำ
- Hadoop เพื่อทำ Machine learning กับ Data
- Monitoring data เพื่อวัด Performance
- Notification เพื่อไปบอก user
- Logging เพื่อทำการบันทึกข้อมูล
- Report สำหรับนำข้อมูลไปออกรายงาน
ซึ่ง 5 เคสนี้ทำออกจากกัน เพียงแต่ไม่จำเป็นต้องทำทันทีที่เกิด Event ที่ Frontend ขึ้น = เคสนี้จะพิจารณาใช้ Kafka ได้
แต่ถ้าเป็นลักษณะเป็น Transaction กัน เช่น
- เราทำระบบ upload image มาจาก Frontend
- เพื่อส่งไป process เราอาจจะแยกกัน Process ภาพ 3 ส่วนออกจากกันเป็น Service 3 ตัว
- แต่ท้ายสุดเราต้องเอาข้อมูลทั้ง 3 ตัวเนี้ยมาประกอบกัน เพื่อเอาผลลัพธ์ออกมา
เคสนี้ จะไม่เหมาะกับการใช้ Kafka เนื่องจาก design เป็นแบบ queue จะจัดการตรงไปตรงมากว่า (ไม่ใช่ ใช้ไม่ได้นะ แต่มันจะทำให้ code เกิดความซับซ้อนขึ้น เนื่องจาก Kafka design มาเป็นลักษณะการกระจายตัวแล้วจบมากกว่า)
เหตุผลที่ Kafka แข็งแกร่ง
ข้อดี
-
Fault-tolerance: การจัดการภายใน Kafka แข็งแกร่งมาก ทนทานต่อการที่ระบบจะล่มได้ (มี Zookeeper คอยจัดการให้ รวมถึงมีการกระจายการเก็บข้อมูล Partition ในแต่ละ Broker - Replication เพื่อให้ข้อมูลทนทานต่อการหายด้วย เมื่อระบบล่ม)
-
Low Latency: เหมาะสำหรับทำงาน realtime data ทั้ง messages/event (ด้วย idea การกระจายตัวของมันนี่แหละ)
-
Connector Framework: มี library พร้อมให้ใช้งานแล้ว
ข้อพิจารณา
- Learning Curve: มันเป็น Concept ที่ต้องอาศัยการ design ที่ถูกต้อง อาจจะต้องใช้เวลาในการเรียนรู้พอสมควร (รวมถึงการ setup ใน production ด้วย)
- Resource Intensive: เพื่อให้ระบบแข็งแกร่งและข้อมูลไม่หาย จึงต้องทั้งสำรองข้อมูลและ Resource server เอาไว้พอสมควร อาจจะกิน Resource เกินโจทย์ที่เราต้องการได้ (หากประเมินมาไม่ดี)
- vs Queue: อาจจะมีบางเคสที่ใช้แค่ Queue ก็เพียงพอสำหรับจัดการ Process แล้ว
Use case ที่มีของ Kafka
- Real-time Analytics: ส่งข้อมูลเพื่อไปทำ Motitor, Analytic ระบบ (เป็น use case ที่ linkedin เองก็ใช้เช่นกั)
- Log Aggregation: ทำ Log analytic ได้
- Recommendation: ใช้สำหรับทำ realtime recommedation ได้ (รับข้อมูลจาก Kafka ไป Process ตลอดเวลาได้) อาจจะใช้ร่วมกับ Elasticsearch ในการทำเรื่องนี้ได้
- Data Lakes: สามารถใช้งานร่วมกับ Data Lake (อย่าง Hadoop) เพื่อเก็บข้อมูลเข้า data lake ไว้ได้ (เก็บเป็น large dataset ไว้ได้)
- Financial Transactions: ใช้กับการ Process งานการเงินได้ เพราะมีความ durability, low-latency อยู่แล้ว รวมถึงสามารถใช้สำหรับการจัดการ balance ให้ realtime.
และอื่นๆ อะไรก็ตามที่ต้องการคุณสมบัติ “Realtime” = คู่ควรแก่การใช้ Kafka
เราจะลองเอา Kafka มาทำอะไรกัน
สิ่งที่เราจะทำ
- เราจะสร้าง API สำหรับการ placeorder ขึ้นมาโดยเช็คตามสินค้าว่ามีสินค้าหรือไม่ ?
- ถ้ามี = สร้าง Order และส่ง messaging ไปบอก
producer
ว่าจะส่ง message ผ่าน LINE ไป (Order status: pending) - ที่
consumer
ทำการรับ message จากproducer
เพื่อนำข้อมูล product ไปส่งบอก user ผ่าน LINE และปรับ Order status เป็น success
** ดัง Sequence diagram นี้ (Diagram นี้จะขอตัด Database ออกไป เนื่องจาก sequence diagram จะยาวเกิน แต่ขอให้เข้าใจว่าการดึง Product และการสร้าง Order เกิดขึ้นที่ Database)
Setting project
เพื่อให้ง่ายต่อการทดลอง เราจะขอใช้เพียง
- 1 Partition
- 1 Broker
- 1 Consumer
- 1 Producer
เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพผ่าน code ก่อนว่า เราสามารถ code kafka ยังไงออกมาได้บ้าง
Structure project จะประมาณนี้
Note
- ที่รอบนี้มีฝั่ง Frontend ด้วย เพราะเราจะดึง userId ออกมาผ่าน LIFF ของ LINE Messaing ที่จะใช้สำหรับส่ง placeorder (จะไม่ได้มีการ implement UI อะไร แต่สามารถนำ API มาลองยิงผ่าน axios ได้)
ที่ docker-compose.yml
เราจะ run ทั้งหมด 4 ตัวคือ
- kafka = messaing queue service
- zookeeper = kafka management
- db = mysql database
- phpmyadmin = phpmyadmin สำหรับจัดการ mysql
ที่ package.json
library ที่ใช้ในรอบนี้
express
= library node สำหรับทำ Rest APIaxios
= สำหรับยิงไปยัง API ของ LINE APIbody-parser
= สำหรับแกะข้้อมูลจาก bodydotenv
= สำหรับอ่านค่าจาก.env
kafkajs
= library สำหรับจัดการใน kafka ของ nodemysql2
= library สำหรับต่อกับ mysql (ใช้โดย sequelize)sequelize
= library สำหรับคุยกับ mysql ด้วยวิธี ORM
โจทย์ของหัวข้อนี้เราจะทำอะไรกันบ้าง
สร้าง 3 file คือ
producer.js
สำหรับทำ Rest API และตัวส่ง producer ของ kafkaconsumer.js
สำหรับ run เป็น consumer คอยรับค่าจาก producerschema.js
สำหรับต่อเข้ากับฐานข้อมูล mysql และ ประกาศ schema Product, Order แยกเอาไว้
ที่ schema.js
สิ่งที่จะทำ
- เราจะสร้าง Schema 2 ตัวคือ
Order
และProduct
ออกมา โดย- Order ใช้สำหรับเก็บข้อมูลการซื้อเอาไว้ (ก่อนยิง message และ update หลังยิง message เข้า LINe)
- Product ใช้สำหรับเก็บสินค้าเอาไว้ เพื่อเช็คก่อนว่าสินค้ามีหรือไม่ ก็ส่งไป สร้าง order
ที่ producer.js
สิ่งที่จะทำ
- ทำ Rest API 2 ตัวออกมาคือ
POST /api/create-product
สำหรับสร้าง product ที่จะใช้สร้าง order (ทำไว้เพื่อให้เป็นตาม pattern ของ ORM)POST /api/placeorder
สำหรับสร้าง Order โดยเช็คกอนว่า product มีหรือไม่ และมี userId สำหรับส่ง message เข้า LINE หรือไม่
- โดยใน
POST /api/placeorder
producer เข้าไปว่า ถ้าสามารถสร้าง Order ได้ ให้สร้าง Order พร้อม status ‘pending’ เพื่อขอ message confirm (ก่อนจะ update เป็น success)
** ทดสอบโดยการปิด consumer ก่อนได้
ผลลัพธ์ตอน run producer (ใส่ภาพ)
ที่ consumer.js
สิ่งที่จะทำ
-
ยืนยันก่อนว่าได้ข้อมูลมาจาก producer ถูกต้องหรือไม่
-
เสร็จแล้วส่ง message Order success เข้า LINE ผ่าน messaging API ส่งได้ผ่าน API ใน document นี้ https://developers.line.biz/en/reference/messaging-api/#send-push-message
- ใช้ userid ของ liff ส่งไปได้เลย
- channel secret ดูใน developer ได้
-
หลังจากส่ง message success ให้ update status order ว่าเป็น status = success (ถือว่า Order สมบูรณ์)
และต้องเพิ่ม .env
เข้าไป
ผลลัพธ์สุดท้ายที่ได้ออกมา
- ฝั่ง API (ที่มี Producer อยู่) ทำการรับข้อมูลจาก
POST /api/placeorder
- หลังจากนั้นก็ส่งข้อมูลเข้า Producer เข้าไป
- และหลังจาก Consumer ได้รับข้อมูลจาก topic ที่ subscribe เอาไว้ = นำข้อมูลนั้นมาใช้เพื่อส่ง Message เข้า LINE
- และ update status order เป็น success
Github
https://github.com/mikelopster/kafkajs-example
Reference
- https://dev.to/chafroudtarek/how-to-integrate-kafka-with-nodejs—4bil
- https://medium.com/linedevth/apache-kafka-%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99-2-core-concepts-7dfd4358ec04
- https://www.somkiat.cc/kafka-101/
- https://saixiii.com/apache-kafka/
- รู้จักรูปแบบ Authentication ระหว่าง Frontend และ Backendมี Video มี Github
เราจะพามาทำ Authentication กับการ Login กัน ว่ามีกี่วิธีที่สามารถทำได้ และสามารถทำได้ยังไงกันบ้าง ซึ่งจะพาทำกันตั้งแต่ฝั่งของ API Backend
- NestJS และ Mongoมี Video
เรียนรู้การผสานพลังระหว่าง NestJS framework ยอดนิยมฝั่ง Node.js กับ MongoDB ฐานข้อมูล NoSQL สุดทรงพลังกัน
- มารู้จักกับ Elasticseach ที่ใช้ทำ Search engine กันมี Video
มาลองทำ search ผ่าน Elasticsearch กัน มาทำความรู้จักกันว่า Elasticsearch คืออะไร ?
- รู้จักกับ Auth0มี Video
มารู้จักกับ Auth0 Authentication platform ที่ช่วยทำให้พัฒนา application พร้อมระบบยืนยันตัวตนได้ง่ายขึ้น